ที่นี่เราได้รวบรวมคำถามที่พบกันบ่อยๆ
เราจะคอยตรวจสอบและอัพเดตข้อมูลของคำตอบเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเงื่อนไขและกฎระเบียนต่างๆสามารถและอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
คำถาม
คำตอบ
การตรวจสอบเอกสารไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ ใช้ระยะเวลานานเท่าไร
ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 6-8 สัปดาห์ค่ะ
หนังสือรับรองสถานภาพ หรือหนังสือรับรองโสดมีอายุการใช้งานนานเท่าไร
หนังสือรับรองโสดมีอายุ 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกเอกสารค่ะ
หนังสือรับรอง (Konsularbescheinigung) ที่จะใช้ยื่นต่อหน้านายทะเบียนสำหรับจดทะเบียนสมรส ต้องขอที่ไหน
หนังสือรับรองฉบับนี้ติดต่อขอได้ที่สถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯเท่านั้นค่ะ
การจัดขอสามารถทำได้โดยมาติดต่อด้วยตัวเอง หรือขอล่วงหน้าทางอีเมล์ได้
ระยะเวลาดำเนินการให้ในการออกหนังสือรับรองฉบับนี้ประมาณ 5 วันทำการ
ทะเบียนหย่า (คร.6) หาย/หาไม่เจอ/ชำรุด ทำอย่างไร
ทะเบียนหย่า (คร.6) เอกสารฉบับนี้สามารถขอคัดใหม่ได้ที่สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กรุงเทพฯ หรือที่สำนักทะเบียนเขต หรืออำเภอที่คุณเคยจดทะเบียนหย่า
ทางเรามีบริการและยินดีขอคัดเอกสารฉบับนี้แทนคุณ
ดิฉันสามารถให้บริษัทคุณจัดขอเอกสารที่สำนักทะเบียนกลางแทนให้ได้ไหม
ได้ค่ะ เพียงแค่คุณมอบอำนาจให้กับทางเรา
ใน Checklist ของสำนักงานทะเบียนราษฎรที่ประเทศเยอรมนีต้องการใบสำคัญการสมรสกับคู่สมรสเดิม แต่ตอนที่ทำการหย่าทางอำเภอได้ขอเรียกเอกสารฉบับนี้คืน ทำอย่างไรดี
เป็นเรื่องปกติค่ะ โดยทั่วไปทางสำนักเขตหรืออำเภอจะเรียกใบสำคัญการสมรสคืนตอนจดทะเบียนหย่า
กรณีสามารถใช้ทะเบียนการสมรสแทนได้
หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ "Ehefähigkeitszeugnis" จำเป็นต้องผ่านการรับรองที่หน่วยงานที่เยอรมันอีกรอบไหม
ไม่จำเป็น สามารถยื่นสถานทูตฯได่เลย
หนังรับรอง "Konsularbescheinigung" ต้องแปลเป็นภาษาไทยอีกไหม
ไม่ต้องแปล ทางสถานทูตฯ ออกหนังสือฉบับนี้ให้สองภาษา (ไทยและเยอรมัน)
จำเป็นต้องแปลเอกสารของคู่สมรสฝ่ายชาวไทยด้วยจริงเหรอ ในเมื่อเรามีความต้องการที่จะจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย และต้องการใช้ชีวิตหลังจากจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย
จำเป็นค่ะ เพราะคู่สมรสฝ่ายชายชาวเยอรมัน จะต้องขอหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ จากสำนักทะเบียนราษฏร ณ เมืองที่พำนักอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ฉะนั้นมีความจำเป็นต้องแปลเอกสารฝ่ายคู่สมรสชาวไทย
ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ การจดทะเบียนสมรส
จดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งที่ประเทศเยอรมนีแล้วใช่ไหม
ไม่ใช่ค่ะ หลังจากจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยแล้ว ฝ่ายคู่สมรสชาวเยอรมันมีความจำเป็นต้องนำการสมรสไปแจ้งที่สำนักทะเบียนราษฏร ณ เมืองที่พำนักอยู่ปัจจุบันด้วย การสมรสจึงจะถูกต้องตามกฏหมายทั้งไทยและเยอรมัน
ดูข้อมูลเพิ่มเติม แจ้งการสมรส/เปลี่ยนนามสกุล
หลังจากที่ดำเนินการขอใบนัดจดทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนราษฏร ณ เมืองที่พำนักปัจจุบันที่ประเทศเยอรมนี ต้องส่งเอสการฉบับจริงมาที่ประเทศไทยด้วยไหม
จำเป็น ในวันที่ยื่นคำร้องขอวีซ่าแต่งงาน จะต้องแสดงใบนัดจดทะเบียนสมรสฉบับจริงให้กับสถานทูตฯ
การจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขตบางรัก จำเป็นต้องใช้ล่ามไหม
จำเป็นต้องใช้ล่ามค่ะ นอกจากฝ่ายคู่สมรสชาวต่างชาติ มีบุตรร่วมกันกับคู่สมรสชาวไทย หรือ พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยได้
บริการของเรา > ล่ามจดทะเบียนสมรส
ถ้าจะจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพฯ หนังสือรับรองที่ออกจากสถานทูตฯ ต้องนำไปรับรองนิติกรณ์ที่กระทรวงต่างประเทศอีกหรือไม่
ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2562 เป็นต้นมา ก่อนจะจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพฯ หนังสือรับรอง จะต้องผ่านการรับรองนิติกรณ์จากกระทรวงต่างประเทศเท่านั้น ถึงจะดำเนินการต่อได้
บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจะต้องมาแสดงตัวในวันที่มีคิวยื่นคำร้องขอวีซ่าบุตรติดตามมารดา/บิดาที่สถานทูตเยอรมนีไหม
ผู้เยาว์ที่มีอายุมากกว่า 12 ปีขี้นไปต้องมาแสดงตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่สถานทูตในวันนั้นด้วยค่ะ
หนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตร กรณีที่มารดาและบิดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนกันสามารถจัดขอได้ที่ไหน
สามารถขอได้ที่สำนักทะเบียนเขตหรืออำเภอที่ตนมีชื่ออยู่ ณ ปัจจุบันที่ประเทศไทย
หนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตรมีอายุการใช้งานนานเท่าใด
หกเดือน นับตั้งแต่วันที่ออกเอกสาร
ผู้ที่มีอำนาจปกครองบุตรจำเป็นต้องมาจัดขอหนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตรด้วยตนเองไหม
ไม่จำเป็น ผู้มีอำนาจปกครองบุตรสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำแทนได้
ในวันที่มีคิวยื่นคำร้องขอวีซ่าเยี่ยมเยียน จำเป็นต้องนำหนังสือใบเชิญตัวจริงไปแสดงต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่สถานทูตด้วยไหม
จำเป็นค่ะ ในวันที่มีคิวยื่นคำร้องต้องนำหนังสือใบเชิญตัวจริงไปยื่นประกอบด้วย
ต้องใช้หลักฐานการจองตั๋วเครื่องบิน หรือตั๋วเครื่องบิน ในการยื่นขอวีซ่าเยี่ยมเยียนด้วยไหม
ไม่ต้องค่ะ สถานทูตไม่เรียกขอ
ใบประกาศนียบัตร A1 (ความรู้ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน) สำหรับใช้ขอวีซ่าแต่งงานมีอายุการใช้งานนานเท่าไร
จากข้อมูลของสถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ (ปี 2561) ใบประกาศนียบัตร A1 ต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี
ค่าธรรมเนียมวีซ่าที่สถานทูตเยอรมนีเท่าไร
ค่าธรรมเนียม (ณ สิงหาคม 2561)
วีซ่าเชงเกน 60 ยูโร
วีซ่าระยะยาว 75 ยูโร
ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมจะต้องชำระเป็นเงินสกุลบาทในวันที่ยื่นคำร้องค่ะ
บุตรมีพาสสปอร์ตเยอรมันแล้ว ตอนนี้เราต้องการย้ายไปอยู่ที่ประเทศเยอรมนีด้วยกัน มารดาจำเป็นต้องใช้ใบประกาศนียบัตร (A1-Zertifikat) ยื่นประกอบการขอวีซ่าเป็นหลักฐานด้วยไหม
ไม่จำเป็นต้องใช้
ระยะเวลาดำเนินการวีซ่าระยะยาว ใช้เวลานานเท่าไร
ประมาณ 6-8 สัปดาห์
หากเด็กเคยขอวีซ่าและที่สถานทูตฯ เคยพิมพ์ลายนิ้วมือแล้ว ครั้งต่อไปเด็กจำเป็นต้องขึ้นมาแสดงตัวอีกไหม
หากภายใน 59 เดือนเคยมีการพิมพ์ลายนิ้วมือที่สถานทูตฯแล้ว เด็กไม่จำเป็นต้องมาอีก (ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถานทูตฯ)
หนังสือเดินทางเหลืออายุการใช้งานอีกแค่ 5 เดือนก่อนเดินทาง สามารถดำเนินเรื่องการขอวีซ่าที่สถานทูตฯได้หรือไม่
ไม่ได้ค่ะ อายุการใช้งานหนังสือเดินทางต้องมีไม่ต่ำกว่า 6 เดือนก่อนเดินทาง
เอกสารสำหรับดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรที่สถานทูตเยอรมนี ต้องใช้อะไรบ้าง
เอกสารที่ใช้คล้ายกับเอกสารจดทะเบียนสมรส เพิ่มเติม คือ
- สูติบัตรบุตร
- กรณีทำเรื่องรับรองบุตรในครรภ์ ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ด้วย
หมายเหตุ
หนังสือรับรองสถานภาพโสดจากอำเภอต้องใช้ยื่นประกอบด้วย หากมารดาเกิดก่อนปีพ.ศ. 2528
การจดทะเบียนรับรองบุตรทำได้กี่วิธี
3 วิธี
1. ผ่านสถานทูตเยอรมัน (ตามกฏหมายเยอรมัน)
2. ผ่านศาลไทยประจำจังหวัด (ตามกฏหมายไทย)
3. รับรองบุตรขณะตั้งครรภ์
สามารถทำเรื่องรับรองบุตรก่อนที่บุตรจะคลอดได้ไหม
ได้ค่ะ คุณสามารถดำเนินเรื่องรับรองบุตรในครรภ์ได้ที่ประเทศเยอรมนี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ รับรองบุตร
หลังจากที่ดำเนินเรื่องรับรองบุตรเรียบร้อยแล้ว แม่เด็กสามารถเดินทางไปประเทศเยอรมนีโดยที่ไม่ต้องขอวีซ่าได้ไหม
ไม่ได้ค่ะ แม่เด็กจะต้องยื่นคำร้องขอวีซ่าติดตามบุตรสัญชาติเยอรมัน กับทางสถานทูตเยอรมนีที่ประเทศไทย
แฟน (ฝ่ายหญิงสัญชาติไทย) เพิ่งอายุ 19 ปี สามารถดำเนินเรื่องรับรองบุตรที่สถานทูตฯ ได้ไหม
ไม่ได้ค่ะ ต้องรอให้ฝ่ายหญิงอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ก่อนถึงจะดำเนินเรื่องรับรองบุตรได้